การศึกษา
การศึกษาบางครั้งต้องพึ่งตำรา บางครั้งต้องพึ่งผู้แนะนำธรรมะนั้น เมื่อมีทั้งตำรา และผู้แนะนำแล้ว สุดท้ายเลยคือปฎ้บัติ ให้เห็นรู้ด้วยตัวเอง อย่าพึ่งเชื่อนะ ลองอ่านก่อน สมัยผมเป็นเด็ก ผมเรียนวิชาพระพุทธศาสนาเนื้อหานี่ เยอะเป็นตับ ผมเดิมทีไม่ค่อยตั้งใจเรียนซักเท่าไหร่ เลยไม่เก่งกับเขาซักที มีแต่เรียนไปวันๆจนจบมาได้ก็บุญโขแล้ว ฮ่าๆๆๆๆ เนื้อหาเยอะมากๆๆๆ ทั้งประวัติพระพุทธเจ้าเอง ทั้งท่องจำ บทสวดมนต์ สิ่งที่สำคัญที่เน้นที่สุดคือ คำสอนพระพุทธเจ้าครับ พลาดประการใดขออภัยด้วยนะครับ
ข้อสงสัย(หาความกระจ่างจนไม่สงสัยในพระพุทธศาสนา)
ข้อสงสัย(หาความกระจ่างจนไม่สงสัยในพระพุทธศาสนา)
มีอยู่ช่วงหนึ่ง ผมได้ยินคำว่า เรียนสูงแต่ยังมีโกรธอยู่ ทำไมหละ?? ผมจึงตั้งคำถามกับตัวเอง แล้วหาวิธีจนกระทั้งเจอหนังสือ"เข้าสู่นิพพาน"ราคาไม่ถึง 100 บาท(ผมจำไม่ได้แล้ว) เนื้อหาไม่เยอะมาก อ่านก็เข้าใจง่าย ผมอ่านจนหมดเล่มในเวลา 2 วันครึ่ง เพราะผมทำงานด้วยจึงไม่ค่อย อ่านอย่างต่อเนื่องซักเท่าไหร่ อันที่จริงอ่านแค่วันเดียวก็จบแล้ว เราจบจากการศึกษา ม.6 แต่พอมารู้แก่นพุทธศาสนาเหมือนกับว่าผมเป็นอนุบาลอย่างไง อย่างงั้น เพราะผมไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า"ทางสายกลางและจิตที่ไม่ยึดติด"นี้เป็นอย่างไร เริ่มเรียนใหม่เลยก็ว่าได้
สิ่งที่รู้
สิ่งที่รู้
มันทำให้ผมมีแรงบันดาลใจเขียนบทความสั้นๆนี้ขึ้นมาว่าจะทำอย่างไรให้ทุกคนบนโลกใบนี้จะรู้ทางสายกลางและจิตที่ว่าง ควรปฏิบัติอย่างไร
ทางสายกลางมี 2 แบบ
1.แบบทางกาย
2.แบบทางจิต
1.แบบทางกาย
2.แบบทางจิต
เพื่อเป็นการง่ายและไม่เสียเวลาผู้อ่านผมจะอธิบายง่ายๆและจะจบอย่างรวดเร็วครับ
ทางกายคืออยู่อย่างพอเพียง ง่ายๆ สบายๆ ไม่เบียดเบียน
ทางจิตคือปล่อยวางในอารมณ์ทั้งปวง(ทำให้เป็นให้ชำนาญทุกสถานการณ์) จิตนี่สำคัญที่สุดเลย
การปฏิบัติที่ง่าย
ทางกายคืออยู่อย่างพอเพียง ง่ายๆ สบายๆ ไม่เบียดเบียน
ทางจิตคือปล่อยวางในอารมณ์ทั้งปวง(ทำให้เป็นให้ชำนาญทุกสถานการณ์) จิตนี่สำคัญที่สุดเลย
การปฏิบัติที่ง่าย
ไม่มีอะไรมาก พยายาม ดูแค่จิต ค่อยๆทำ ไม่ต้องฝืนมาก ว่าจิตมันทำไมถึงเป็นอย่างงี้ แล้วมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน สมุติว่าหงุดหงิด ให้ดูที่จิต นี่แหละ แล้วระงับค่อยๆ ระงับมัน ปล่อยความหงุดหงิดนั้นเสีย (จะหงุดหงิดทำไมเสียเวลาจริงไหม)เมื่อรู้วิธีปฏิบัติบางครั้งต้องมีการหลอกจิต คืออุบายนั้นเอง ใช้อุบายให้เป็น ขอแค่อุบายนั้นสามารถระงับจิตอันไม่พรึงประสงค์แล้วปรับใช้ในชีวิตประจำวันโดยไร้อารมณ์****(อุบายเช่นการหายใจเข้า ออกหรือดูที่จิตเลยแล้วระงับหรือตัดอารมณ์นั้นออก)
หมั่นดูจิต
หมั่นดูจิต
ไม่ต้องไปถึงพระนิพพาน ขอแค่ว่าหมั่นดูจิต ว่ามันเป็นอย่างไร แล้วเรียนรู้กับมัน เท่านี้ก็เป็นพอ แล้วค่อยต่อยอดเอาครับ ต่อสู้กับจิตใจให้พ้น กิเลส ตัณหา เป็นอะไรที่สุดยอดมากๆครับ และพยามทำอย่างต่อเนื่องเห็นแจ้งเห็นจริง รู้แล้ว ว่ามันเป็นยังงี้นะ แค่นั้นพอครับ สบายๆ
จุดมุ่งหมายธรรมะ
จุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาคือ นิพพาน (ไม่ยึดมั่นสิ่งใดในโลก ไม่ยึดมั่นสิ่งในในจิต)
ขอฝากไว้บทความสั้นๆไว้ด้วยนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น